content
แม้ทุกคนรู้ดีว่าการพักผ่อนเป็นเรื่องสำคัญของชีวิต ซึ่งแต่ละวันคนเราควรนอนหลับให้ได้อย่างน้อย 6-8 ชม. เมื่อตื่นขึ้นมาแล้วจะรู้สึกสดชื่น แจ่มใส พร้อมลุยงานในวันใหม่ แต่ด้วยลักษณะการทำงานที่แตกต่าง บางคนต้องทำงานบริษัทญี่ปุ่นแล้วเลิกดึก ต้องอยู่โอทีต่อ เวลาพักผ่อนมีน้อยจึงอาจทำให้รู้สึกง่วงในตอนกลางวันขณะกำลังทำงานอยู่ได้ จึงขอแชร์ 7 ไอเดียวิธีแก้ง่วงของเหล่ามนุษย์ออฟฟิศที่สามารถนำไปปรับใช้กันตามสะดวกเลย
แชร์ไอเดีย 7 วิธีแก้ง่วงสำหรับชาวมนุษย์ออฟฟิศ
- เครื่องดื่มมีคาเฟอีนช่วยคุณได้
ไอเดียแรกของวิธีแก้ง่วงเป็นพื้นฐานง่าย ๆ ของคนที่อยากบอกลาอาการง่วงของตนเองขณะทำงาน นั่นคือการเลือกดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนโดยเฉพาะกาแฟ หรือบางคนจะเลือกเป็นเครื่องดื่มชูกำลังก็ไม่ว่ากัน แต่ถ้าใครไม่ใช่สายดื่มของเหล่านี้เลยอาจต้องเปลี่ยนเป็นชาหรือน้ำอัดลมก็พอแก้ขัดในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามไม่แนะนำให้ดื่มบ่อย ๆ หากมีส่วนผสมของน้ำตาลเพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นแทรกซ้อนได้ รวมถึงช่วงเวลาดื่มหากตอนเช้ายังไม่ได้รู้สึกง่วงมากแนะนำให้ดื่มช่วงบ่ายจะช่วยกระตุ้นพลังงานให้เกิดความกระปรี้กระเปร่าได้ตลอดบ่ายเลยทีเดียว
- เปลี่ยนท่าทางหรือปรับอิริยาบถในการทำงาน
บ่อยครั้งการนั่งทำงานท่าเดิมนาน ๆ หรือนั่งติดเก้าอี้ตัวเองก็มักทำให้รู้สึกง่วงนอนได้มากขึ้น ก็สามารถเปลี่ยนท่าทางของตนเอง หรือปรับอิริยาบถให้ทำท่าที่ต่างไปจากเก่าก็ได้เช่นกัน ซึ่งบางคนอาจลุกเดินไปคุยกับเพื่อนร่วมงานคนอื่น ลุกไปเข้าห้องน้ำล้างหน้าล้างตา ออกไปยืนจิบกาแฟ จิบเครื่องดื่มแก้เครียดสักเล็กน้อย ใครเป็นมนุษย์ออฟฟิศแล้วไม่อยากนั่งง่วงก็ลองสร้างความกระฉับกระเฉงให้ร่างกายของตนเองในออฟฟิศเลย
- ของเปรี้ยวช่วยแก้ง่วงได้จริง
หากคุณทำงานบริษัทญี่ปุ่นหรือองค์กรใดที่ต้องจดจ่อกับหน้าคอม อยู่กับที่ของตนเองนาน ๆ แบบไม่ค่อยมีเวลาลุกไปไหนมาไหนจริง แนะนำให้บนโต๊ะทำงานมีของเปรี้ยวติดเอาไว้เลย เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว ลูกอม น้ำผลไม้เปรี้ยว ๆ เป็นต้น ของที่มีรสเปรี้ยวเมื่อทานเข้าไปแล้วจะช่วยกระตุ้นความสดชื่น สมองเกิดการตื่นตัวทันทีตั้งแต่คำแรกที่รู้สึก แต่ทั้งนี้ต้องพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่มีน้ำตาลผสมอยู่ หรือถ้าต้องทานจริงก็เอาแค่ช่วงรู้สึกง่วงมากจะดีที่สุดไม่เช่นนั้นอาจมีโรคอื่นตามมาภายหลัง
- งีบหลับประมาณ 10-15 นาที ช่วยได้จริง
เป็นวิธีแก้ง่วงที่ Back to Basic สุด ๆ เมื่อรู้สึกง่วงก็ไม่เห็นต้องคิดอะไรเยอะนอกจากการนอนหลับ ซึ่งเป็นวิธีง่าย ๆ ที่ยังไงก็มั่นใจว่าได้ผลชัวร์ แต่ลำพังจะนอนหลับแบบจริงจังในออฟฟิศคงไม่ใช่เรื่องดีเท่าไหร่นัก แนะนำว่าให้หามุมงีบหลับสั้น ๆ ประมาณ 10-15 นาที เพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย ดวงตาปิดลงมาชั่วคราว ตั้งเวลาปลุกเอาไว้ พอครบกำหนดแล้วคุณลองลืมตาขึ้นจะรู้สึกสดชื่นกว่าเดิม เหตุเพราะการงีบร่างกายไม่ได้ตั้งใจให้หลับจริงแต่เป็นการพักสมอง พักความเหนื่อยล้า จากนั้นก็พร้อมกลับไปลุยงานกันต่อ
- เปลี่ยนโฟกัสสายตาไปเรื่องอื่นบ้าง
มนุษย์ออฟฟิศหลายคนคงเคยเป็นนั่งพิมพ์งานอยู่แล้วเหมือนจะหลับให้จงได้ นั่นก็มาจากการที่คุณอยู่ท่าทางเดิมเป็นเวลานานเช่นกัน หากยังไม่อยากลุกหรือปรับอิริยาบถอะไรมากมาย อีกวิธีที่จะช่วยจัดการความง่วงได้จริงนั่นคือลองเปลี่ยนโฟกัสสายตาไปเรื่องอื่นบ้าง เช่น อาจหยิบมือถือขึ้นมาเช็กข้อความเข้า-ออก การหันหน้าไปมองพื้นที่สีเขียว หันหน้ามองไปนอกหน้าต่าง เป็นต้น วิธีเหล่านี้จะทำให้สายตาได้ปรับมุมมองใหม่ อาการง่วงจึงลดน้อยลง
- ฟังเพลง ฟังเรื่องหลอนช่วยได้
หากเป็นยุคก่อนเมื่อรู้สึกง่วงคนส่วนใหญ่มักเลือกฟังเพลง โดยเฉพาะเพลงเร็ว ๆ เพลงมัน ๆ แต่ปัจจุบันนอกจากการฟังเพลงแล้วอีกเทรนด์ฮิตติดลมบนเพื่อแก้ง่วงให้กับตนเองนั่นคือการฟังเรื่องหลอน เช่น เรื่องผี เรื่องเล่าน่ากลัวต่าง ๆ เหตุผลที่การฟังสิ่งเหล่านี้ทำให้คุณง่วงเพราะสมองคุณมีการคิดตามเรื่องดังกล่าวอยู่ตลอด ยิ่งบางเรื่องน่ากลัว น่าตกใจ จินตนาการในหัวก็เพิ่มการตื่นตัวมากขึ้นกว่าเดิม รับรองว่ายังไงก็ไม่มีทางง่วง แต่ทั้งนี้ต้องศึกษากฎบริษัทแต่ละแห่งด้วยว่าสามารถทำได้หรือไม่ รวมถึงตำแหน่งงานที่ทำเหมาะสมเพียงใด เช่น หากทำงานบริษัทญี่ปุ่นเป็นเลขาของนายญี่ปุ่นก็อาจดูไม่เหมาะสมนัก
- ปรับพฤติกรรมชีวิตของตนเอง
วิธีสุดท้ายหากไม่อยากรู้สึกง่วงตอนกลางวันขณะนั่งทำงานอยู่ คุณก็จำเป็นต้องปรับพฤติกรรมชีวิตของตนเองให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น เช่น การนอนเร็วกว่าเดิมหากรู้ว่าต้องตื่นเช้า ลดการปาร์ตี้แล้วให้เวลากับการพักผ่อนมากขึ้น ทานอาหารเสริมที่ได้มาตรฐานช่วยบำรุงสมอง หรือช่วยให้หลับง่ายขึ้นแต่ไม่ใช่การใช้ยานอนหลับ เป็นต้น หากปรับได้การทำงานก็จะมีประสิทธิภาพยิ่งไปอีก
นี่คือทั้ง 7 ไอเดียดี ๆ สำหรับคนที่กำลังหาวิธีแก้ง่วงให้กับตนเองในฐานะของมนุษย์ออฟฟิศ ซึ่งไม่ว่าคุณจะทำงานบริษัทญี่ปุ่น หรือบริษัทแบบใดก็ตามสามารถนำไปลองปรับใช้กับตนเองได้เลย หรือบอกต่อกับเพื่อนร่วมงานก็ไม่มีปัญหา เพราะการพัฒนาองค์กรต้องให้ความสำคัญกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะบุคลากร